วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใบความรู้เร่ื่องบายศรี

ความหมายของ “บายศรี” นั้น สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพล มาจาก ลัทธิพราหมณ์ ซึ่งเข้ามา ทางเขมร ทั้งนี้เพราะ คำว่า “ บาย ” ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ส่วนคำว่า “ ศรี ” มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับ ภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ


ดังนั้นคำว่า “ บายศรี ” หน้าจะ แปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัส กับความดีงาม “ บายศรี ” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ, ขวัญข้าว หรือ ภาชนะที่จัดตกแต่ง ให้สวยงามเป็นพิเศษ ด้วยใบตอง และดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวาน ในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ





สมัยโบราณ มีการเรียกพิธี สู่ขวัญว่า “ บาศรี ” ทั้งนี้สืบเนื่อง มาจากเป็นพิธี สำหรับบุคคล ชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “ บา ” เป็นภาษาโบราณ อีสานใช้เป็น คำนำหน้า เรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและ สิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ” จึงหมายถึง การทำพิธีที่ เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยม เรียก กันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “บายศรี” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น



ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นบายศรี มีความหมายในทางดี เช่น กรวยข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบชัยพฤกษ์หรือใบคูน อายุยืนยาว ดอกดาวเรือง ความเจริญรุ่งเรือง ดอกรัก ความรักที่มั่นคง



ไข่ต้ม...ในกรณีบายศรีแต่งงาน จะมีสองฟอง เป็นของเสี่ยงทาย หัวใจฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง จะรักกันมั่นคง ผ่าไข่ต้มเป็นสองซีก ดูกันที่ไข่แดง ถ้าเอียงไปอยู่ข้างใด ทายว่าใจโลเล แต่ถ้าอยู่ตรงกลางแสดงว่าหัวใจรักมั่นคง

การจัดทำ บายศรี นั้น เริ่มจาก การนำใบตอง ที่มาจากกล้วยตานี เย็บเป็น บายศรี ประดับด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ ส่วนตัวบายศรี ยังแบ่งออก ตามลักษณะ การใช้งาน ในการบูชา ที่แตกต่าง ออกไป เช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น